“บิ๊กอู๊ด” ผบช.สตม.แถลงข่าวการจับกุม 4 คดีสำคัญ ๑. สืบ ตม.๓ จับหนุ่มญี่ปุ่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์คนร้ายข้ามชาติ ๒. ตม.สระแก้ว จับขบวนการลักลอบขนคนกัมพูชาเข้าไทย ๓. ตม.สุพรรณบุรี ปราบก๊วนพม่ามั่วสุม เย้ยพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ๔. ตม.นครนายก จับโรฮีนจาพร้อมขบวนการให้ที่หลบซ่อน

“บิ๊กอู๊ด” ผบช.สตม.แถลงข่าวการจับกุม 4 คดีสำคัญ
๑. สืบ ตม.๓ จับหนุ่มญี่ปุ่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์คนร้ายข้ามชาติ
๒. ตม.สระแก้ว จับขบวนการลักลอบขนคนกัมพูชาเข้าไทย
๓. ตม.สุพรรณบุรี ปราบก๊วนพม่ามั่วสุม เย้ยพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
๔. ตม.นครนายก จับโรฮีนจาพร้อมขบวนการให้ที่หลบซ่อน



๒. ตม.สระแก้ว จับขบวนการลักลอบขนคนกัมพูชาเข้าไทย
๓. ตม.สุพรรณบุรี ปราบก๊วนพม่ามั่วสุม เย้ยพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
๔. ตม.นครนายก จับโรฮีนจาพร้อมขบวนการให้ที่หลบซ่อน
ตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เรื่องการควบคุมกำกับดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักอาศัยหรือเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. และ พล.ต.อ.ดํารงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. มอบหมายให้ สตม.ดำเนินการตรวจสอบชาวต่างชาติที่มีหมายจับตำรวจสากล หรือมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมในขณะที่พำนักอาศัยอยู่ในประเทศไทย กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตรายต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน หรือเป็นลักษณะการกระทำผิดเข้าข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ ทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศ
สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดย พล.ต.ท.สมพงษ์ ชิงดวง ผบช.สตม., พล.ต.ต.ณฐพล แสวงกิจ รอง ผบช.สตม., พล.ต.ต.รุ่งโรจน์ ฐากูรปุณยสิริ ผบก.ตม.๓, พ.ต.อ.ทรงโปรด สิริสุขะ รอง ผบก.ตม.๓, พ.ต.อ.กฤตัชญ์ บำรุงรัตนยศ รอง ผบก.ตม.๓, พ.ต.อ.รัชธพงศ์ เตี้ยสุด รอง ผบก.ตม.๓, พ.ต.อ.หฤษฎ์ เอกอุรุ รอง ผบก.ตม.๓ และ ว่าที่ พ.ต.อ.จิรพงศ์ รุจิรดำรงค์ชัย ผกก.สส.
บก.ตม.๓ ร่วมแถลงข่าวการจับกุม ดังนี้
๑. “จับกุมหนุ่มญี่ปุ่นแก๊งคอลเซ็นเตอร์ คนร้ายข้ามชาติคนสำคัญ” (กก.สส.บก.ตม.๓)
การจับกุมครั้งนี้ กก.สส.บก.ตม.๓ ได้ปฏิบัติงานสืบสวนก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ และได้คอยช่วยสอดส่องพฤติกรรม
ของคนต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เป็นที่พึงประสงค์ ซึ่งมีพฤติกรรมใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการก่ออาชญากรรม หรือเป็นที่หลบหนีซ่อนตัวจากคดี โดยพฤติการณ์กรณีนี้คนร้ายรายนี้ชื่อ นาย Mizuma อายุ ๔๐ ปี ปรากฏข้อมูลจากทางการญี่ปุ่นว่าได้กระทำผิดในลักษณะแก๊งคอลเซ็นเตอร์โดยร่วมกับพวกจำนวน ๘ คน มี นาย Mizuma เป็นตัวการสำคัญผู้สั่งการในขบวนการนี้ทั้งหมด พฤติกรรมของแก๊งนี้จะโทรไปหาเหยื่อและแอบอ้างตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำเป็นจะต้องตรวจสอบบัญชีเงินฝากเหยื่อ แล้วหลอกเอารหัสพินของบัตร จากนั้นจะส่งคนร้ายอีกคนปลอมตัวเป็นตำรวจ ไปที่บ้านเหยื่อแล้วใช้กลอุบายหลอกขโมยบัตรกดเงินของเหยื่อไปกดเงินเอาเงินไป
ในเวลาต่อมา ชุดสวนสืบ กก.สส.บก.ตม.๓ สืบทราบว่า นาย Mizuma พักอาศัยที่คอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จึงได้เข้าไปตรวจสอบพบว่า นาย Mizuma เป็นตัวของบุคคลที่ทางการญี่ปุ่นต้องการตัวจริงและยังเป็นบุคคล
ตามหมายจับของตำรวจสากล นอกจากนั้นยังพบว่า ได้โดยเดินทางเข้ามาอยู่ในประเทศไทยโดยวีซ่าท่องเที่ยว และขณะนี้ได้สิ้นสุด
การอนุญาตแล้ว จึงได้ควบคุมตัวพร้อมแจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบว่า “เป็นบุคคลต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยการอนุญาตสิ้นสุด” นำส่งดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
โดยในคดีดังกล่าวนี้ จากสถิติของสำนักงานตำรวจญี่ปุ่น ในปี ๒๐๑๙ พบว่าคดีฉ้อโกงคอลเซ็นเตอร์มีจำนวนมากถึง ๑๖,๘๕๑ คดี รวมมูลค่าความเสียหาย ถึง ๓๑,๕๘๐ ล้านเยน (ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านบาท) ในส่วนคดีของแก๊งนี้ ได้ร่วมกันก่อเหตุรวมทั้งสิ้น ๑๐๓ คดี มี ผู้เสียหายที่ถูกหลอกเงิน ๔๖ ราย รวมมูลค่าความเสียหาย ๔๐,๕๐๐,๐๐๐ เยน (ประมาณ ๑๒ ล้านบาท)
๒. “จับขบวนการลักลอบขนคนกัมพูชาเข้าไทย” (ตม.จว.สระแก้ว)
เนื่องด้วยตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว ได้ทำการสืบสวนกลุ่มขบวนการลักลอกนำคนต่างด้าวเข้าเมืองซึ่งลักลอบ
เดินทางเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติแถวบ้านเสม็ด หมู่ ๓ ต.โคกสูง อ.โคกสูง จ.สระแก้ว โดยจะอยู่ตรงข้ามกับพื้นที่ อ.โอวจโรว
จ.บันเตียนเมียนเจย ประเทศกัมพูชาพอดี ในครั้งนี้มีการสืบทราบว่าขบวนการนี้แบ่งหน้าที่กันทำโดยมีคนกัมพูชาเป็นผู้รับงาน
และสั่งการจ่ายงาน นางบานเย็นใช้บ้านของตนเองเป็นสถานที่พักคอย และมีรถยนต์เก๋ง โตโยต้า สีบรอนซ์ทอง และสีแดง ทะเบียนกรุงเทพฯ ทำหน้าที่ขนส่งคนจากบ้านนางบานเย็น ไปยังจุดหมายต่างๆ
เมื่อทราบข้อมูลแล้วจึงได้วางแผนเข้าจับกุม โดยได้สืบสวนทราบว่าจะมีการขนย้ายคน จึงได้นำกำลังเข้าตรวจสอบพบรถยนต์ทั้งสองคันมีลักษณะตรงตามตำหนิรูปพรรณเป้าหมาย จึงได้แสดงกำลังเข้าตรวจสอบ พบนายประเสริฐ ใช้รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า รุ่น อินโนว่า สีบรอนซ์ทอง ทะเบียนจังหวัดกรุงเทพฯ มีผู้โดยสารเป็นคนกัมพูชามาด้วย จำนวน ๙ คน และพบนายมนตรี ใช้รถยนต์เก๋ง ยี่ห้อโตโยต้า รุ่นอินโนว่า สีแดง ทะเบียนจังหวัดกรุงเทพฯ มีผู้โดยสารเป็นคนกัมพูชามาด้วยอีก จำนวน ๖ คน ได้ข้อมูลว่าเพิ่งรับคนจากบ้านของนางบานเย็น และยังมีกัมพูชาหลงเหลืออยู่ที่บ้านนางบานเย็นอีกจำนวนหนึ่ง จึงได้เข้าตรวจค้นอย่างต่อเนื่อง จนพบชาวกัมพูชาอยู่ในบ้านนางบานเย็น อีกจำนวน ๘ คน โดยคนกัมพูชาทั้งหมดนั้น ตรวจสอบแล้วไม่มีหนังสือเดินทาง ไม่มีวีซ่าทำงานในประเทศไทยอย่างใด โดยสรุปผลการจับกุมคนและของกลางในครั้งนี้ดังนี้
๑) จับผู้ต้องหา แยกเป็นคนไทยให้การช่วยเหลือนำพา จำนวน ๓ ราย คนกัมพูชาหลบหนีเข้าเมือง จำนวน ๒๓ ราย รวมทั้งหมดจำนวน ๒๖ คน
๒) ตรวจยึดรถของกลางซึ่งใช้ในการกระทำความผิด ๒ คัน
แจ้งข้อกล่าวหา นางบานเย็น นายประเสริฐ และนายมนตรีว่า “ช่วยเหลือด้วยประการใดๆ อันตนรู้ว่าเป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต และมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคตามข้อกำหนด มาตรา ๙ ข้อ ๕ แห่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ โดยกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระในแต่ละคน คนต่างด้าว จำนวน ๒๓ คน แจ้งข้อกล่าวหาว่า “ เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต และมั่วสุม
ในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคตามข้อกำหนด มาตรา ๙ ข้อ ๕ แห่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘
โดยกระทำผิดต่างกรรมต่างวาระในแต่ละคน เช่นกัน
จากการซักถามผู้ต้องหาให้การยอมรับสารภาพโดยให้ข้อมูลทราบว่า มีการสั่งการ จ่ายงานจาก ชายชาวกัมพูชา ซึ่งได้รับข้อมูลไว้แล้ว และจะได้ขยายผลติดตามมาดำเนินคดีต่อไป
๓. “ปราบก๊วนพม่ามั่วสุม เย้ยพรก.ฉุกเฉิน” (ตม.จว.สุพรรณบุรี)
เนื่องด้วยปัจจุบันสถานการณ์ของไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรงและน่าเป็นห่วงอย่างมาก จำเป็นที่ทุกๆคนจะต้องร่วมมือกันเชื่อฟังและกระทำตามมาตรการของทางรัฐบาลโดยเคร่งครัด รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ (ฉบับที่ ๒๐ ) ซึ่งทางจังหวัดสุพรรณบุรีก็มีการมีการออกมาตรการสอดรับ
ที่เข้มข้นเช่นกัน
ในกรณีนี้ ชุดสืบสวน ตม.จว.สุพรรณบุรี ได้รับแจ้งเบาะแสว่า มีคนต่างด้าวชาวเมียนมามีพฤติกรรมตั้งวงดื่มสุรา ไม่สนใจสถานการณ์บ้านเมืองที่เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินในปัจจุบัน จึงได้ทำการสืบสวนหาข่าวพิสูจน์ทราบก็พบว่าสถานที่ดังกล่าว เป็นห้องตึกแถวอาคารพาณิชย์ ตั้งอยู่บริเวณ ถนนเณรแก้ว ต.ท่าระหัด อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี จึงได้ร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงและสาธารณะสุขในพื้นที่เข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว
ผลการตรวจสอบพบว่า มีต่างด้าวชาวเมียนมา จำนวน ๑๒ คน ตั้งวงดื่มสุราอาหาร และเสียงดังอย่างสนุกสนาน จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ พบว่ามีวีซ่าทำงานถูกต้อง แต่ก่อพฤติกรรมมั่วสุมซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของการแพร่เชื้อไวรัสโควิด–19 จึงได้จับกุมตัวพร้อมแจ้งข้อกล่าวหาว่า “มั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคตามข้อกำหนด มาตรา ๙ ข้อ ๕ แห่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘” นำส่งดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
๔. “จับโรฮีนจาหลบหนีเข้าเมืองพร้อมขบวนการให้ที่หลบซ่อน” (ตม.จว.นครนายก)
ด้วยก่อนเกิดเหตุ ชุดสืบสวน ตม.จว.นครนายก ได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีบ้านหนึ่งหลังย่าน ต.พระอาจารย์ อ.องครักษ์
จ.นครนายก รับบุคคลลักษณะคล้ายคนต่างด้าวเชื้อสายมุสลิมแปลกหน้าหมุนเวียนเข้า-ออก อยู่บ่อยครั้ง เป็นพฤติกรรมที่น่าสงสัย เมื่อทราบข้อมูลจึงได้สืบสวนหาข่าวเพื่อพิสูจน์ทราบพบว่ามี นาย Minta และ นาง Chitda คู่สามีภรรยาซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวชาวเมียนมาเชื้อสายมุสลิม และมีพฤติกรรมดังที่ได้รับแจ้งเบาะแสจริงโดยก่อนจะเกิดเหตุ ๒ วัน มีรถต้องสงสัยจำนวน ๑ คัน น่าจะขนคนเข้าส่งไว้สถานที่ดังกล่าว ต่อมาจึงได้บูรณาการกำลังหน่วยใกล้เคียงเข้าตรวจสอบที่พักดังกล่าว ซึ่งผลการตรวจสอบก็พบ คนต่างด้าวชาวเมียนมาเชื้อสายโรฮีนจา จำนวน ๑๒ คน พักอาศัยอยู่กับนาย Minta โดยทั้งหมดหลบหนีเข้าเมืองไม่มีเอกสารใดๆยืนยันตัว จึงได้ข้อกล่าวหานาย Minta และ นาง Chitda ว่า “ช่วยเหลือด้วยประการใดๆ อันตนรู้ว่าเป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต” ส่วนชาวโรฮีนจา จำนวน ๑๒ คนนั้น แจ้งข้อกล่าวหาว่า “เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฃ” นำส่งดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย
จากการซักถามข้อมูล นาย Minta รับสารภาพยอมรับว่ารับชาวโรฮีนจาเข้าพักจริง ส่วนชาวโรฮีนจาจำนวน ๑๒ คนนั้น
ให้ข้อมูลว่า เดินทางมาจากพม่าลักลอบเดินเท้าผ่านช่องทางธรรมชาติ อ.แม่สอด จ.ตาก เตรียมมุ่งหน้าจะไปประเทศมาเลเซีย โดยมาพักและเพื่อเปลี่ยนรถบริเวณที่เกิดเหตุ ค่าใช้จ่ายต่อคนนั้นจะมีนายหน้าออกให้ก่อนโดยเมื่อไปถึงประเทศมาเลเซีย ทุกคนจะมีภาระหนี้
ที่ต้องทำงานทดแทนเป็นจำนวน คนละ ๘๐,๐๐๐ บาท ทางการสืบสวนยังพบข้อมูลเส้นทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับหลายบุคคล
ในขบวนการซึ่งจะได้ดำเนินการขยายผลการจับกุมไปสู่บุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป
สตม.ขอเรียนให้ท่านทราบว่า สตม. มีมาตรการในการตรวจสอบ กวดขัน และปราบปรามการกระทำความผิดในด้านต่างๆรวมทั้งดำเนินการตรวจสอบชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม กระทำผิดกฎหมาย ก่อเหตุอันตราย ต่อความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อันทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศชาติ หากประชาชนท่านใดพบเห็นเบาะแสการกระทำความผิด กรุณาแจ้งมายัง สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เลขที่ 507 ซ.สวนพลู แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 หรือที่หมายเลขโทรศัพท์ 1178 หรือที่ www.immigration.go.th
Cr.สตม.สวนพูล
